วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้ 1. เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น 2. เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 3. เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น 4. เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น องค์ประกอบของการสื่อสาร 1. ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล 2. ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล 3. ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว 4. สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ 5. โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์แอดเดรส โทรสาร (Facsimile หรือ Fax) เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา วอยซ์เมล (Voice Mail) เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าวอยซ์เมล์บ็อกซ์ เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning SystemsGPSs) เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย กรุ๊ปแวร์(groupware) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT) ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI) เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID) เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ชนิดของสัญญาณข้อมูล 1. สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal) เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลงสัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ เฮิรตซ์ (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ 2. สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal) สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem) โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ 1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) 2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission) 3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission) ตัวกลางการสื่อสาร 1. สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media) สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้ - สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable) สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ - สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว - สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable) สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก 2. สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น - แสงอินฟราเรด (Infrared) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์ - สัญญาณวิทยุ (Radio Wave) เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ - ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล - การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication) เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์ หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล 1. ราคา 2. ความเร็ว 3. ระยะทาง 4. สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น 5. ความปลอดภัยของข้อมูล มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols) 1. บลูทูธ (Bluetooth) 2. ไวไฟ (Wi-Fi) 3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX) http://www.thaigoodview.com/node/53181

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ซอฟแวร์ระบบ(System Software) Dos, Windows, Linux, Unix, Mac OS, Android, iOS, Symbian, Windows Phone

ซอฟต์แวร์ (Software) ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการซอฟต์แวร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) หมายถึง โปรแกรมหรือคำสั่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานของส่วนประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. ระบบปฏิบัติการ (operating system หรือ OS) 2. ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (translator) ระบบปฏิบัติการ (operating system : OS) เป็นชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่อง เช่น จัดสรรหน่วยความจำ ควบคุมหน่วยรับและแสดงผล เป็นต้น ตลอดจนควบคุมการทำงานของโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ชนิดของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการที่มีในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ตามจำนวนของงาน (Task) และจำนวนผู้ใช้งาน (User) ดังต่อไปนี้ 1. ระบบปฏิบัติการชนิด Single-task/Single-user เป็นระบบที่ง่ายที่สุด กล่าวคือ มีผู้ใช้เพียงคนเดียว และผู้ใช้สามารถทำงานได้เพียงครั้งละ 1 งาน เช่นระบบปฏิบัติการ MS-Dos 2. ระบบปฏิบัติการชนิด Multi-task/Single-user เป็นระบบที่ยังคงมีผู้ใช้เพียงคนเดียวอยู่ แต่ผู้ใช้สามารถทำงานได้ครั้งละหลายงาน เช่น ระบบปฏิบัติการ MS-Windows 3.11, 95, 98 3. ระบบปฏิบัติการชนิด Multi-task/Multi-user เป็นระบบปฏิบัติการ ที่สามารถมีผู้ใช้งานได้หลายคน และสามารถทำงานได้ครั้งละหลายงานพร้อมกัน ระบบประเภทนี้จึงมีกลไกในการป้องกัน ไม่ให้ผู้ใช้ทำงานก้าวก่ายซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่น ระบบปฏิบัติการ Unix, MS-Windows NT, 2000, XP, Vista และ Mac OS X ระบบปฏิบัติการ Linux Linux ถือกำเนิดโดย ลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Trovalds) นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เป็นซอฟต์แวร์ โอเพนซอร์ส ใช้งานได้ฟรีมีลักษณะส่วนติดต่อกับผู้ใช้สองแบบ ทั้ง Command line และ GUI มีลักษณะการใช้งานแบบ Multi task/Multi user ในปัจจุบันมีลีนุกส์หลายค่าย เช่น Redhat, Slackware, Debian, LinuxTLE, Burapha Linux, Ubuntu Command line เป็นการใช้งานโดยการพิมพ์คำสั่งลงไป ฉนั้นผู้ใช้งานต้องจำคำสั่งการใช้งานให้ได้ GUI ย่อมาจาก Graphic User Interface เป็นการใช้งานโดยลักษณะการโต้ตอบแบบกราฟิก ระบบปฏิบัติการ Mac OS X Apple เป็นบริษัทคู่แข่งกับ Microsoft เครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทนี้จะถูกเรียกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช (Macintosh) Mac OS X (แมคโอเอสเท็น) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบ GUI และมีลักษณะการใช้งานแบบ Multi task/Multi user Mac OS X เริ่มพัฒนาขึ้นจากระบบปฏิบัติการ UNIX โดยระบบปฏิบัติการนี้ จะเน้นที่การสร้างมัลติมีเดีย สิ่งพิมพ์ ภาพ เสียง วีดีโอ http://krooyuth.utd1.net/?p=90 ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์พกพา Pocket PC : Windows CE , Windows Mobile Smart phone : Symbian Palm : PalmPre ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (translator) ทำหน้าที่แปลต้นฉบับโปรแกรม (Source Code) ซึ่งเป็นภาษาที่มนุษย์เข้าใจ ให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine language) หรือภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจนั่นเอง คำสั่งที่มนุษย์เขียนขึ้นมา อาจเขียนด้วย C, C++, Pascal เป็นต้น ภาษาเครื่องจะมีลักษณะเป็นเลขฐานสอง ตัวอย่างเช่น 01110100

หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์

คือ หน่วยความจำที่ต่อกับหน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยประมวลผลกลางสามารถใช้งานได้โดยตรง หน่วยความจำ ชนิดนี้จะเก็บข้อมูล และชุดคำสั่งในระหว่างประมวลผล และมีกระแสไฟฟ้า เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ข้อมูลในหน่วย ความจำนี้จะหายไปด้วย หน่วยความจำหลักที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน เป็นชนิดที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก ราคาถูก แต่เก็บข้อมูลได้มาก และสามารถให้หน่วยประมวลผลกลาง นำข้อมูลมาเก็บ และเรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องอาศัยหน่วยความจำหลัก เพื่อใช้เก็บข้อมูลและคำสั่ง ซีพียูจะทำหน้าที่นำคำสั่ง จากหน่วยความจำหลัก มาแปลงความหมายแล้วกระทำตาม เมื่อทำเสร็จก็จะนำผลลัพธ์มาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก ซีพียูจะกระทำตามขั้นตอนเช่นนี้เป็นวงรอบเรื่อยๆ ไปอย่างรวดเร็ว เรียกการทำงานลักษณะนี้ว่า วงรอบคำสั่ง (Execution cycle) จากการทำงานเป็นวงรอบของซีพียูนี้เอง การอ่านเขียนข้อมูลลงในหน่วยความจำหลัก จะต้องทำได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันการทำงานของซีพียู โดยปกติุุถ้าให้ซีพียูทำงานที่มีความถี่ของสัญญาณนาฬิกา 2,000 เมกะเฮิรตซ์ หน่วยความจำหลักที่ใช้ทั่วไปมักจะมีความเร็วไม่ทันช่วงติดต่ออาจมีเพียง 100 เมกะเฮิรตซ์ หน่วยความจำหลักที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ จึงต้องกำหนดคุณลักษณะในเรื่องช่วงเวลาเข้าถึงข้อมูล (Accesss time) ค่าที่ใช้ทั่วไปอยู่ในช่วงประมาณ 60 นาโนวินาที ถึง 125 นาโนวินาที (1 นาโนวินาทีเท่ากับ 10 ยกกำลัง -9 วินาที) แต่อย่างไรก็ตาม มีการพัฒนาให้หน่วยความจำ สามารถใช้กับซีพียูที่ทำงานเร็วขนาด 33 เมกะเฮิรตซ์ โดยการสร้าง หน่วยความจำพิเศษมาึคั่นกลางไว้ ซึ่งเรียกว่า หน่วยความจำแคช (cache memory) ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่เพิ่มเข้ามา เพื่อนำชุดคำสั่ง หรือข้อมูลจากหน่วยหลักมาเก็บไว้ก่อน เพื่อให้ซีพียูเรียกใช้ได้เร็วขึ้น แบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูล 1.หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (volatile memory) คือถ้าเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลไว้แล้ว หากไฟฟ้าดับ คือไม่มีไฟฟ้าจ่ายให้ กับวงจรหน่วยความจำ ข้อมูลที่เก็บไว้จะหายไปหมด 2. หน่วยความจำไม่ลบเลือน (nonvolatile memory) คือ หน่วยความจำเก็บข้อมูลได้ โดยไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่เลี้ยงวงจร แบ่งตามสภาพการใช้งาน 1. หน่วยความจำที่ซีพียูอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนลงไปได้ เรียกว่า รอม (Read Only Memory : ROM) รอมจึงเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ถาวร เช่นเก็บโปรแกรมควบคุม การจัดการพื้นฐานของระบบ ไมโครคอมพิวเตอร์ (bios) รอม ส่วนใหญ่เป็นหน่วยความจำไม่ลบเลือนแต่อาจยอมให้ผู้พัฒนาระบบ ลบข้อมูลและ เขียนข้อมูลลงไปใหม่ได้ การลบข้อมูลนี้ต้องทำด้วยกรรมวิธีพิเศษ เช่น ใช้แสงอุลตราไวโลเล็ตฉายลงบนผิวซิลิกอน หน่วยความจำประเภทนี้ มักจะมีช่องกระจกใสสำหรับฉายแสงขณะลบ และขณะใช้งานจะมีแผ่นกระดาษทึบ ปิดทับไวเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า อีพร็อม (Erasable Programmable Read Only Memory : EPROM) 2. หน่วยความจำที่เขียนหรืออ่านข้อมูลได้ การเขียนหรืออ่านจะเลือกที่ตำแหน่งใดก็ได้ เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า แรม (Random Access Memory: RAM) แรมเป็น หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ เป็นหน่วยความจำหลักที่สามารถนำโปรแกรม และข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอก หรือหน่วยความจำรองมาบรรจุไว้ หน่วยความจำแรมนี้ต่างจากรอมที่สามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีไฟฟ้าเลี้ยงวงจรอยู่เท่านั้น หากปิดเครื่องข้อมูล จะหายได้หมดสิ้น เมื่อเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง จึงจะนำข้อมูลหรือโปรแกรมมาเขียนใหม่อีกครั้ง หน่วยความจำแรมมีขนาดแตกต่างกันออกไป หน่วยความจำชนิดนี้บางครั้งเรียกว่า read write memory ซึ่งหมายความว่า ทั้งอ่านและบันทึกได้ หน่วยความจำเป็บแรมที่ใช้อยู่สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1. ไดนามิกแรมหรือดีแรม (Dynamic RAM : DRAM) DRAM จะทำการเก็บข้อมูลในตัวเก็บประจุ ( Capacitor ) ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการ refresh เพื่อ เก็บข้อมูลให้ คงอยู่ โดยการ refresh นี้ ทำให้เกิดการหน่วงเวลาขึ้นในการเข้าถึงข้อมูล และก็เนื่อง จากที่มันต้อง refresh ตัวเองอยู่ตลอดเวลานี้เอง จึงเป็นเหตุให้ได้ชื่อว่า Dynamic RAM ปัจจุบันนี้แทบจะหมดไปจากตลาดแล้ว ปัจจุบันมีการคิดค้นดีแรมขึ้นใช้งานอยู่หลายชนิด เทคโนโลยีในการพัฒนาหน่วยความจำประเภทแรม เป็นความพยายามลดเวลา ในส่วนที่สองของการอ่านข้อมูล นั่นก็คือช่วงวงรอบการทำงาน ดังนี้ Fast Page Mode DRAM (FPM DRAM) FPM นั้น ก็เหมือนๆกับ DRAM เพียงแต่ว่า มันลดช่วงการหน่วงเวลาในขณะเข้าถึงข้อมูลลง ทำให้มัน มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูงกว่า DRAM ปกติ โดยที่สัญญาณนาฬิการปกติในการเข้าถึงข้อมูล จะเป็น 6-3-3-3 ( Latency เริ่มต้นที่ 3 clock พร้อมด้วย 3 clock สำหรับการเข้าถึง page ) และสำหรับระบบแบบ 32 bit จะมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุด 100 MB ต่อวินาที ส่วนระบบแบบ 64 bit จะมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดที่ 200 MB ต่อวินาที เช่นกันครับ ปัจจุบันนี้ RAM ชนิดนี้ก็แทบจะหมดไปจากตลาดแล้ว แต่ก็ยังคงเห็นได้บ้างและมักจะมีราคา ที่ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับ RAM รุ่นใหม่ๆ เนื่องจากที่ว่า ปริมาณที่มีในท้องตลาดมีน้อยมาก ทั้งๆที่ ยังมีคนที่ต้องการใช้ RAM ชนิดนี้อยู่ Extended-Data Output (EDO) DRAM หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ Hyper-Page Mode DRAM ซึ่งพัฒนาขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยการที่มันจะอ้างอิงตำแหน่ง ที่อ่านข้อมูลจากครั้งก่อนไว้ด้วย ปกติแล้วการดึงข้อมูลจาก RAM ณ ตำแหน่งใดๆ มักจะดึงข้อมูล ณ ตำแหน่งที่อยู่ใกล้ๆ จากการดึงก่อนหน้านี้ เพราะงั้น ถ้ามีการอ้างอิง ณ ตำแหน่งเก่าไว้ก่อน ก็จะทำให้ เสียเวลาในการเข้าถึงตำแหน่งน้อยลง และอีกทั้งมันยังลดช่วงเวลาของ CAS latency ลงด้วย และด้วยความสามารถนี้ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลดีขึ้นกว่าเดิม กว่า 40% เลยทีเดียว และมีความ สามารถโดยรวมสูงกว่า FPM กว่า 15% EDO จะทำงานได้ดีที่ 66MHz ด้วย Timming 5-2-2-2 และ ก็ยังทำงานได้ดีเช่นกันถึงแม้จะใช้งานที่ 83MHz ด้วย Timming นี้ และหากว่า chip EDO นี้ มีความเร็วที่สูงมากพอ ( มากกว่า 50ns ) มันก็สามารถใช้งานได้ ณ 100 MHz ที่ Timming 6-3-3-3 ได้อย่างสบาย อัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดของ DRAM ชนิดนี้อยู่ที่ 264M ต่อวินาที EDO RAM เองก็เช่นกัน ณ ปัจจุบันนี้ ก็หาได้ค่อนข้างยากแล้วในท้องตลาด เนื่องจากบริษัทผู้ผลิต หยุดผลิต หรือ ผลิตในปริมาณน้อยลงแล้ว เพราะหันไปผลิต RAM รุ่นใหม่ๆ แทน ทำให้ราคาเมื่อเทียบเป็น เมกต่อเมก กับ SDRAM จึงแพงกว่า Burst EDO (BEDO) DRAM BEDO ได้เพิ่มความสามารถขึ้นมาจาก EDO เดิม คือ Burst Mode โดยหลังจากที่มันได้ address ที่ต้องการ address แรกแล้ว มันก็จะทำการ generate อีก 3 address ขึ้นทันที ภายใน 1 สัญญาณนาฬิกา ดังนั้นจึงตัดช่วงเวลาในการรับ address ต่อไป เพราะฉะนั้น Timming ของมันจึงเป็น 5-1-1-1 ณ 66 MHz BEDO ไม่เป็นที่แพร่หลาย และได้รับความนิยมเพียงระยะเวลาสั้นๆ เนื่องมาจากว่าทาง Intel ตัดสินใจใช้ SDRAM แทน EDO และไม่ได้ใช้ BEDO เป็นส่วนประกอบในการพัฒนา chipset ของตน ทำให้บริษัทผู้ผลิตต่างๆ หันมาพัฒนา SDRAM กันแทน Synchronous DRAM (SDRAM) SDRAM นี้ จะต่างจาก DRAM เดิม ตรงที่มันจะทำงานสอดคล้องกับสัญญาณนาฬิกา สำหรับ DRAM เดิมจะทราบตำแหน่งที่จะอ่าน ก็ต่อเมื่อเกิดทั้ง RAS และ CAS ขึ้น แล้วจึงทำการ ไปอ่านข้อมูล โดยมีช่วงเวลาในการ เข้าถึงข้อมูล ตามที่เราๆมักจะได้เห็นบน chip ของตัว RAM เลย เช่น -50 , -60, -80 โดย -50 หมายถึง ช่วงเวลา เข้าถึง ใช้เวลา 50 นาโนวินาทีเป็นต้น แต่ว่า SDRAM จะใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดการทำงาน โดยจะใช้ความถี่ ของสัญญาณเป็นตัวระบุ SDRAM จะทำงานตามสัญญาณนาฬิกาขาขึ้น เพื่อรอรับตำแหน่งที่ต้องการให้มันอ่าน แล้วจากนั้น มันก็จะไปค้นหาให้ และให้ผลลัพธ์ออกมา หลังจากได้รับตำแหน่งแล้ว เท่ากับ ค่า CAS เช่น CAS 2 ก็คือ หลังจากรับตำแหน่งที่จะอ่านแล้ว มันก็จะให้ผลลัพธ์ออกมา ภายใน 2 ลูกของสัญญาณนาฬิกา SDRAM จะมี Timming เป็น 5-1-1-1 ซึ่งแน่นอน มันเร็วพอๆ กันกับ BEDO RAM เลยทีเดียว แต่ว่ามันสามารถ ทำงานได้ ณ 100 MHz หรือ มากกว่า และมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 528 M ต่อวินาที DDR SDRAM ( หรือ ที่เรียกกันว่า SDRAM II ) DDR DRAM นี้ แยกออกมาจาก SDRAM โดยจุดที่ต่างกันหลักๆ ของทั้งสองชนิดนี้คือ DDR SDRAM นี้ สามารถที่จะใช้งานได้ทั้งขาขึ้น และ ขาลง ของสัญญาณนาฬิกา เพื่อส่งถ่ายข้อมูล นั่นก็ทำให้อัตราส่งถ่ายเพิ่มได้ถึงเท่าตัว ซึ่งจะมีอัตราส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดถึง 1 G ต่อวินาทีเลยทีเดียว Rambus DRAM (RDRAM) ชื่อของ RAMBUS เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท RAMBUS Inc. ซึ่งตั้งขึ้นมาตั้งแต่ยุค 80 แล้ว เพราะฉะนั้น ชื่อนี้ ก็ไม่ใช่ชื่อที่ใหม่อะไรนัก โดยปัจจุบันได้เอาหลักการของ RAMBUS มาพัฒนาใหม่ โดยการลด pin, รวม static buffer, และ ทำการปรับแต่งทาง interface ใหม่ DRAM ชนิดนี้ จะสามารถทำงานได้ทั้งขอบขาขึ้นและลง ของสัญญาณนาฬิกา และ เพียงช่องสัญญาณเดียว ของหน่วยความจำแบบ RAMBUS นี้ มี Performance มากกว่าเป็น 3 เท่า จาก SDRAM 100MHz แล้ว และ เพียงแค่ช่องสัญญาณเดียวนี้ก็มีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดถึง 1.6 G ต่อวินาที ถึงแม้ว่าเวลาในการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มของRAMชนิดนี้จะช้า แต่การเข้าถึงข้อมูลแบบต่อเนื่องจะเร็วมากๆ ซึ่งหากว่า RDRAM นี้มีการพัฒนา Interface และ มี PCB ที่ดีๆ แล้วละก็ รวมถึง Controller ของ Interface ให้สามารถใช้งานมันได้ถึง 2 ช่องสัญญาณแล้วหล่ะก็ มันจะมีอัตราส่งถ่ายข้อมูลเพิ่มเป็น 3.2 G ต่อวินาทีและหากว่า สามารถใช้งานได้ถึง 4 ช่องสัญญาณ ก็จะสามารถเพิ่มไปถึง 6.4 G ต่อวินาที มหาศาลเลย 2. Static Random Access Memory (SRAM) จะต่างจาก DRAM ตรงที่ว่า DRAM จะต้องทำการ refresh ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะที่ SRAM จะเก็บข้อมูลนั้นๆ ไว้ และจะไม่ทำการ refresh โดยอัตโนมัติ ซึ่งมันจะทำการ refresh ก็ต่อเมื่อ สั่งให้มัน refresh เท่านั้น ซึ่งข้อดีของมัน ก็คือความเร็ว ซึ่งเร็วกว่า DRAM ปกติมาก แต่ก็ด้วยราคาที่สูงกว่ามาก จึงเป็นข้อด้อยของมันเช่นกัน 3.น่วยความจำความเร็วสูง (Cache Memory) หน่วยความจำแคช เป็นหน่วยความจำขนาดเล็กที่มีความเร็วสูง ทำหน้าที่เหมือนที่พักคำสั่ง และข้อมูลระหว่าง การทำงาน เพื่อให้การทำงานโดยรวมเร็วขึ้น แบ่งเป็นสองประเภท คือ แคชภายใน (Internal Cache) และแคชภายนอก (External Cache) โดยแคชภายใน หรือ L1 หรือ Primary Cache เป็นแคชที่อยู่ในซีพียู ส่วนแคชภายนอก เป็นชิปแบบ SRAM ติดอยู่บนเมนบอร์ด ทำงานได้ช้ากว่าแบบแรก แต่มีขนาดใหญ่กว่า เรียกอีกชื่อได้ว่า L2 หรือ Secondary Cache มนบอร์ด (Main board) เป็นอุปกรณ์ภายใจเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่รวมองคืประกอบ ของคอมพิวเตอร์ทุกหน่วย เข้าด้วยกัน เป็นเหมือนศูนย์กลางของระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากอุปกรณ์ทุกชิ้น ไม่ว่าจะเป็นหน่วยรับเข้า หน่วยแสดงผล หน่วยความจำหลัก หรือหน่วยความจำรอง ต้องถูกนำมาเชื่อมกับเมนบอร์ด จึงจะทำงานได้ เราจำเป็นที่จะต้องจัดเตรียม Mainboard ให้ตรงกับ CPU ที่ใช้ ซึ่ง Mainboard ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นประเภท ATX กันหมดแล้ว ในหัวข้อนี้เราจะมาดูว่า Mainboard แบบใดจึงจะเป็น Mainboard ที่จะเลือกมาใช้ในการประกอบเครื่องคอมฯของเรา โดยมีหลักในการเลือก Mainboard ดังนี้ ประการแรก ::>เมื่อเราพิจารณาแล้วว่าจะใช้ CPU จากค่ายใหนเราก็เลือกใช้ MainBoard ที่สนับสนุน CPU นั้นโดยอาจต้องคำนึงถึง ชื่อของผู้ผลิต MainBoard ด้วย เพราะถึงแม้ว่าจะใช้ ChipSet เดียวกัน มีคุณสมบัติเหมือนกันแต่ก็มีประสิทธิภาพที่ต่างกันอีก ทั้งยังมีเสถียรภาพที่ต่างกันด้วย ซึ่งในเรื่องของ เสถียรภาพนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการเลือก MainBoard เพราะ MainBoard มีเสถียรภาพต่ำก็จะทำให้เครื่องคอมฯของเราหยุดทำงานบ่อย โดยไม่ทราบสาเหตุ ประการที่สอง ::>ส่วนการที่จะพิจารณาว่าจะเลือก MainBoard แบบ All in One คือ Mainboard ที่มีทั้ง Card แสดงผล และ Sound Card บน Board บางรุ่นมี Modem และ LAN Card บน Card ด้วย กับแบบที่ไม่มีอุปกรณ์เหล่านี้อยู่เลยอย่างใหนดีกว่ากัน นั้นจำเป็น ต้องพิจารณาในเรื่องของราคาเป็นหลักเพราะ Mainboard ที่เป็นแบบ All in One นั้นจะมีราคาถูกกว่า MainBoard ที่ไม่มีอุปกรณ์ แต่สิ่งที่เราจะต้องสูญเสียไปคือการที่มีจำนวน Slot ที่จะใช้ในการเพิ่มเติมอุปกรณ์ลดน้อยลง อีกทั้งในเรื่องของเสถียรภาพของ Board แบบ All in One จะต่ำกว่าแบบไม่มี และยังยากแก่การ Upgrade (การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่อง) http://www.chakkham.ac.th/technology/computer1/mainboard.htm

ความหมาย Hardware, Software, People Ware และ Data

1.1 Hardware หมายถึง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่แตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของ องค์ประกอบพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ เช่น 1) หน่วยรับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ 2) หน่วยประมวลผลกลาง มีหน้าที่นำคำสั่งและข้อมูล เก็บไว้ในหน่วยความจำมาแปลความหมาย และ กระทำตามคำสั่งพื้นฐาน 3) หน่วยส่งออก หรือหน่วยแสดงผล ประกอบด้วย จอภาพ (Monitor) ลำโพง (Speaker) เครื่องพิมพ์ (Printer) 1.2 Software หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน และเป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล เช่น โทรศัพท์มือถือ , หุ่นยนต์ในโรงงาน , เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ 1.3 People ware หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อ ให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เช่น นักเขียนโปรแกรม (programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (systems analyst) วิศวกร (engineer) ผู้เตรียมข้อมูล (data entry) รวมไปถึงผู้ควบคุมเครื่อง (operator) 1.4 Data หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ (Images Data) ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data) แหล่งอ้างอิง:http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_06.htm

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
                หมายถึง ส่วนประกอบของตัวเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เม้าส์ แป้นพิมพ์ จอภาพ เคส CPU ฮาร์ดดิสก์ ลำโพง เครื่องพิมพ์
1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
4. ผู้ใช้ (User)

2. ซอฟต์แวร์ (Software)
                      หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้งาน ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                       1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)หมายถึง โปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการกับระบบพื้นฐานที่จำเป็นของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกัคอมพิวเตอร์  เช่น  ระบบปฏิบัติการ Dos  ระบบปฏิบัติการ Window  ระบบปฏิบัติการ linux   ระบบปฏิบัติการ Unix
                        2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software  หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่างๆ ออกจำหน่ายมาก เช่น โปรแกรม Microsoft Office  โปรแกรม Adobe Photoshop CS2  โปรแกรม Nod 32โปรแกรม Win amp
3. บุคลากร (Peopleware)
                  หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานและสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการแบ่งออกได้ 4 ระดับ
4. ข้อมูล (Data)
                 หมายถึง ความเป็นจริงที่เป็นข้อมูลดิบ เช่น ตัวเลข, ตัวอักษร, เสียง, ภาพ, ภาพเคลื่อนไหว ซึ่งยังไม่ได้ผ่านการประมวลผลใดๆ มาก่อน และถ้าข้อมูลได้รับการประมวลผลให้เป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือและอยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ จะเรียกว่า สารสนเทศ (Information)

ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ Super Computer, Mini Computer, Micro Computer, Notebook, Tablet,Smart Phone

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุด โดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อน และต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลง สามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family) เดียวกันได้ โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้ สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่ มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึงหลายร้อยล้านบาท ตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพง ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่า เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้ มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูล สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) หมายถึง เครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก มีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC) ปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมาก อาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมาก ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียน สถานศึกษา และบ้านเรือน บริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรก คือ บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer) แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัว อาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook Computer ปัจจุบันโน้ตบุ๊กถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ Desktop replacement เดสก์ทอปรีเพลสเมนต์: โน้ตบุ๊กประเภทนี้ มีน้ำหนักประมาณ 3-4.5 กิโลกรัม จอภาพมักจะใหญ่กว่าประเภทอื่นๆ มีทั้งที่เป็นแบบสุดหรูฟีเจอร์ครบเครื่อง ราคาประมาณ 60,000-120,000 บาท สำหรับคนมีงบประมาณเหลือเฟือ และแบบประหยัด ราคาเริ่มที่ 40,000 บาท สำหรับคนที่อยากได้โน้ตบุ๊กราคาสบายกระเป๋าสตางค์มาไว้ในครอบครอง Mainstream เมนสตรีม: โน้ตบุ๊กแบบนี้เหมาะกับนักธุรกิจหรือคนที่ต้องเดินทางบ่อยๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องการประสิทธิภาพในการทำงานพอสมควร น้ำหนักประมาณ 1.8-3 กิโลกรัม ราคาประมาณ 48,000-100,000 บาท Ultraportable อัลตร้าพอร์เทเบิล: กลุ่มนี้เน้นความบาง เบา และดีไซน์เฉียบหรูเป็นหลัก น้ำหนักประมาณ 1-1.8 กิโลกรัม ราคาประมาณ 60,000-120,000 บาท และเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในหมู่นักธุรกิจที่เน้นเรื่องความสะดวกสบายในการพกพาเป็นหลัก สำหรับสเปกเครื่องควรพิจารณาให้เหมาะสมกับการใช้งาน และอยู่ในงบประมาณที่กำหนด มีขั้นตอนดังนี้ กำหนดสเปกให้ตรงกับความต้องการของคุณ ส่วนประกอบหลักๆที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ก็คือ Processor, Chipset, Graphic Controller และ LCD รองลงมาได้แก่ Memory และ Harddisk ส่วนพิจารณาหลังสุดได้แก่ Optical Drive, Keyboard, Pointing Device รวมไปถึง I/O Port ต่างๆ เลือกโน้ตบุ๊กรุ่นที่มีส่วนประกอบซึ่งคุณให้ความสำคัญอยู่ครบมากที่สุด และอย่าพยายามนำส่วนประกอบที่คุณคิดว่า อาจจะต้องการสำหรับใช้ในอนาคตมามีบทบาทในการตัดสินใจเลือกซื้อมากนัก เลือกตามการใช้งาน เช่น ใช้งานเชิงธุรกิจ, ใช้งานแทนพีซีตั้งโต๊ะหรือเพื่อความบันเทิง ซึ่งรูปแบบการใช้งานจะแตกต่างกันไป ใช้งานทั่วไป ทำงานเอกสาร ใช้โปรแกรมออฟฟิศทั้งหลาย เพียงแค่ซีพียูระดับเกือบๆ 1 กิกะเฮิรตช์ แรมประมาณ 128 เมกะไบต์ ฮาร์ดดิสก์ขนาด 20 กิกะไบต์ก็สามารถใช้งานได้แล้ว แต่ถ้าจะให้ดีควรมีอาร์ดดิสก์ 30 กิกะไบต์ขึ้นไป ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ด้วยโน้ตบุ๊ก ซึ่งการใช้งานประเภทความบันเทิงนั้นสเปกจะต้องสูงสักหน่อย ซีพียู เพนเทียมโฟร์ โมบาย แรมอย่างน้อย 512 เมกะไบต์ เพราะประสิทธิภาพต่างกับเครื่องที่ใช้แรม 256 เมกะไบต์อย่างเห็นได้ชัด ฮาร์ดิสก์ที่แนะนำคือ 40 กิกะไบต์ขึ้นไป และยังต้องเน้นเรื่องระบบกราฟฟิก ควรใช้ชิปกราฟฟิกแยกต่างๆหากมีหน่วยความจำสำหรับแสดงผลโดยเฉพาะ และเพื่อความสมบูรณ์ในการดูหนังผ่านดีวีดีควรเลือกจอแบบ Wide Screen ซึ่งจะให้ภาพเต็มจอมากกว่า ใช้งานนอกสถานที่ ควรเน้นที่ความบาง และเบาเป็นพิเศษ และหากต้องการเชื่อมต่อแบบไร้สาย สิ่งแรกที่ต้องมีคือระบบ Wi-Fi ควรมองหาโน๊ตบุ้กที่สนับสนุนเครือข่ายไร้สายมาตรฐาน 802.11g เพราะนอกจากจะใหม่และเร็วกว่าแล้ว ยังสามารถทำงานร่วมกับมาตรฐาน 802.11b ที่ใช้ทั่วไปในที่สาธารณะได้ด้วย และอาจจะต้องซื้ออุปกรณ์เสริมเพิ่มเติมเพื่อรอบรับการใช้งานตามต้องการ (หากต้องเดินทางบ่อยๆ แนะนำให้ซื้อแบตเตอรี่สำรองไว้อีกหนึ่งอัน เผื่อคุณต้องใช้มันในกรณีฉุกเฉินเวลาไม่สามารถเสียบไฟตรงได้ และถ้าไม่อยากเก็บอะแดปเตอร์ไปๆมาๆเวลาเดินทาง ก็ซื้ออีกอันไว้สำหรับเดินทางโดยเฉพาะเลยก็ได้) ตกแต่งภาพ งานกราฟิก ซีพียู เพนเทียมโฟร์ ไฮเปอร์เธรดดิง แรมขั้นต่ำ 256 เมกะไบต์ ระบบกราฟิกสำหรับแสดงผลสามมิติ จอภาพ 15-17 นิ้ว เลือกเครื่องที่มีไดรฟืบันทึกซีดีหรือดีวีดี และหากเป็นดีวีดีไรเตอร์ ควรเลือกที่เขียนแผ่นได้หลายๆแบบ ทั้ง DVD-R และ DVD+R ถ้าโน๊ตบุ้กของคุณมีอุปกรณืต่อพ่วงอื่นๆเป็นจำนวนมาก ลองหันมาใช้พวกด็อกกิงสเตชันหรือพอร์เรพพลิเคเตอร์ดู อย่างน้อยเวลาต้องการย้ายดน๊ตบุ้กไปไหน คุณก็ไม่ต้องมานั่งเสียบสายเข้าๆออกๆอีกต่อไปและถ้าต้องซื้อโน้ตบุ๊กมือสอง อยากได้ของถูกๆ...นอกจากจะต้องเช็กอุปกรณ์ให้ครบถ้วนแล้ว อย่าลืมว่าการรับประกันนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ที่ขาดไม่ได้เลย ขั้นสุดท้าย เมื่อได้สเปกเรียบร้อยก็นำมาตรวจสอบกันหลายๆรุ่น หลายๆยี่ห้อ และควรเปรียบเทียบราคาด้วย รวมถึงดูในเรื่องของวัสุดที่ใช้ทำ, ของแถม และการรับประกันว่ามีกี่ปี และนอกจากนี้ควรสอบถามจากผู้ที่เคยใช้งานมาแล้วว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง ใช้แล้วมีปัญหาอะไรบ้างหรือเปล่า รวมถึงบริการหลังการขาย และจำนวนศูนย์บริการที่มีด้วย เมื่อได้ข้อสรุป ตกลงซื้อเป็นที่เรียบร้อย ก่อนจะรับโน้ตบุ๊ก ควรจะพิจารณาให้ละเอียดดังนี้ ตรวจสอบสเปกของเครื่องให้ตรงกับที่ตกลงกันเอาไว้ก่อนซื้อ เปิดเครื่องให้ทำงาน แล้วลองใช้งานส่วนต่างๆดูว่าปกติหรือไม่ ตรวจสอบหา Dead Pixel บนหน้าจอ โดยเข้าสู่ Dos Mode ให้หน้าจอเป็นสีดำ แล้วมองหาจุดสีที่ผิดเพี้ยนไป นอกจากนี้ยังควรปรับเปลี่ยนสีแบ็กกราวนด์เป็นสีต่างๆเพื่อตรวจสอบ และควรสอบถามถึงเงื่อนไขในส่วนของ Dead Pixel ว่าถ้าเกิดกี่จุดถึงจะเคลมได้ ตรวจสอบการเปิด-ปิดฝาพับให้ดีว่ามีอาการหลวมหรือไม่ ลองตรวจสอบระบบเสียงด้วยการเปิดเพลงฟัง และควรลองเสียบหูฟังและใช้ไมโครโฟนด้วย ตรวจสอบการใช้งานพอร์ตต่างๆ ด้วยการลองเชื่อมต่ออุปกรณ์ ลองใช้งานไดร์ฟที่ติดตั้งมาให้ว่า สามารถอ่านข้อมูลได้ถูกต้อง หากเป็นซีดีอาร์ดับบลิวหรือคอมโบไดร์ฟ ลองทดสอบการเขียนแผ่นและอ่านแผ่นให้ดีด้วย ตรวจสอบไฟแสดงสถานะต่างๆว่าทำงานปกติหรือไม่ ตรวจสอบปุ่มคีย์บอร์ด ให้ลองพิมพ์ทุกๆตัวอักษร ลองเสียบปลั๊กใช้งาน และลองถอดปลั๊กเพื่อใช้ไฟจากแบตเตอรี่ ตรวจสอบซอฟต์แวร์ต่างๆที่ติดตั้งมาให้ว่าครบตามที่แจ้งไว้หรือไม่ ตรวจสอบแผ่นซีดีไดรเวอร์ต่างๆ โดยเฉพาะ Recovery CD ที่ควรจะมีให้ ตรวจสอบคู่มือการใช้งาน ใบรับประกัน ของแถมต่างๆ ให้ครบตามเงื่อนไข ตรวจสอบใบเสร็จรับเงิน และสอบถามเรื่องการนำเครื่องเข้าศูนย์บริการ เงื่อนไขต่างๆ ซึ่งโน้ตบุ๊กบางยี่ห้อจะสามารถซื้อประกันเพิ่มได้อีกด้วย การใช้งานโน๊ตบุ๊กในออฟฟิศ หรือตามบ้าน มักจะมีฝุ่นละอองมาติดอยู่ตามซอกมุมต่างๆโดยเฉพาะ ส่วนของคีย์บอร์ดที่จะมีปัญหาในการทำความสะอาดมากที่สุด สำหรับโดยรอบๆตัวเครื่อง ให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเปล่าแล้วบิดให้หมาดๆ เช็ดไปรอบๆตัวเครื่อง ไม่ควรใช้สารเคมีมาทำความสะอาดนอกจากจะเป็นน้ำยาสำหรับทำความสะอาดโน้ตบุ๊กโดยเฉพาะ สำหรับที่ตัวคีย์บอร์ดส่วนใหญ่มักจะใช้ปากเป่าไล่ฝุ่นละออง ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องนัก วิธีการที่ดีที่สุดคือ การใช้เครื่องดุดฝุ่น ดูดเอาฝุ่นละอองออกมา นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มระหว่างการใช้งาน เพราะอาจจะหกรดไปบนตัวเครื่อง ทำให้เกิดความเสียหายได้ และทำให้โน้ตบุ๊กสกปรกอีกด้วย ในการใช้งานปกติคุณควรจะระมัดระวังเรื่องของการกระแทกเอาไว้ด้วย เพราะโน้ตบุ๊กปกติจะสามารถทนแรงกระแทกได้ไม่มากนัก หากโดนกระแทกแรงๆก็อาจจะไปกระทบกระเทือนอุปกรณ์ภายในได้ และเมื่อต้องการเคลื่อนย้ายโน้ตบุ๊กควรนำใส่กระเป๋าที่ออกแบบมาใช้กับโน้ตบุ๊กโดยเฉพาะ นอกจากจะช่วยลดแรงกระแทกแล้วยังช่วยป้องกันน้ำได้ระดับหนึ่งอีกด้วย แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer) "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือ แท็บเล็ต - Tablet "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม" ซึ่งทางบริษัท Apple ผู้ผลิต "ไอแพด - iPad" ได้เรียกอุปกรณ์ของตัวเองว่าเป็น "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" เครื่องแรก ความแตกต่างระหว่าง "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet computer" และ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" เริ่มแรก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" จะใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 ของ Intel เป็นพื้นฐานและมีการปรับแต่งนำเอาระบบปฏิบัติการหรือ OS ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือ Personal Computer - PC มาทำให้สามารถใช้การสัมผัสในการทำงานได้ ตัวอย่างเช่น Windows 7 หรือ Ubuntu Linux แทนที่จะใช้แป้นพิมพ์คีย์บอร์ดหรือเมาส์ และเนื่องจากเป็นการรวมกันระหว่างระบบปฏิบัติการ Windows และหน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ของ Intel ทำให้มีคนเรียกกันว่า "Wintel" ต่อมาในปี 2010 ได้เกิดแท็บเล็ตที่แตกต่างจาก "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ขึ้นมาโดยไม่มีการยึดติดกับ Wintel แต่ไปใช้ระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนนั่นก็คือ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือเรียกสั้นๆว่า แท็บเล็ต - Tablet" ซึ่งจะใช้หน้าจอแบบ capacitive แทนที่ resistive ทำให้สามารถสัมผัสโดยการใช้นิ้วได้โดยตรงและสัมผัสพร้อมกันทีละหลายจุดได้หรือ multi-touch ประกอบกับการใช้หน่วยประมวลผลกลางหรือ CPU ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM แทนซึ่งสถาปัตยกรรม ARM นี้ทำให้แท็บเล็ตนั้นมีการใช้งานได้ยาวนานกว่าสถาปัตยกรรม x86 ของ Intel หลายๆคนคงจะรู้จักแท็บเล็ตตัวนี้กันเป็นอย่างดีนั้นก็คือ ไอแพด (iPad) นั้นเอง PDA คืออะไร PDA (Personal Digital Assistant) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจดบันทึก, เก็บข้อมูล, เตือนเวลานัดหมาย หรือ จัดการงานต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว รวมไปถึงความสามารถของการเพิ่มเติมแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ใช้งานด้านอื่นๆได้เหมาะสมกับความต้องการยิ่งขึ้น เช่น ดูเวลารอบโลก, อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, ดูหนังสือพิมพ์ออนไลน์, บันทึกรายรับรายจ่าย แม้แต่ในเรื่องของมัลติมีเดียและเอนเตอร์เทน เช่น ดูหนัง, ฟังเพลง, หรือ เล่นเกมส์ ก็สามารถรวมเข้าไปอยู่ในเจ้าอุปกรณ์เล็กๆนี้ได้เช่นกัน PDA นั้นยังแยกออกมาได้อีกหลายประเภท ตามลักษณะของการใช้งานและระบบปฏิบัติการที่ถูกติดตั้งอยู่ในเครื่อง PDA นั้นๆ ซึ่งหลักๆที่เรารู้จักกันก็จะมี PDA ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Palm OS หรือที่เรียกว่า Palm และ PDA ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Mobile หรือที่เรียกกันว่า Pocket PC นั่นเอง Palm ทำอะไรได้บ้าง คำถามนี้มักจะเกิดขึ้นอยู่เสมอสำหรับผู้ที่ต้องการจะเริ่มใช้งานเจ้าอุปกรณ์ประเภทนี้ ในเบื้องต้นนั้น Palm สามารถทำงานในลักษณะของ Organizer อย่างเช่นการจดบันทึก, นัดหมาย, บันทึกที่อยู่ รวมไปถึงการใช้งานในลักษณะของโปรแกรม Office และยังก้าวข้ามไปถึงการติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเพื่อให้เหมาะสมกับสาขาอาชีพหรือความต้องการในการใช้งานของผู้ใช้อีกด้วย ที่นี้เพื่อความชัดเจน เราจะมาดูความสามารถและประโยชน์ที่เราจะได้รับจาก Palm เป็นข้อๆกันเลยครับ 1. สามารถเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารและจัดการตารางเวลาในชีวิตประจำวันของเรา อย่างเช่น การบันทึกนัดหมายหรือวันสำคัญต่างๆเป็นต้น 2. จดบันทึกข้อมูลราบชื่อของผู้ที่เราจะติดต่อ เช่น เบอร์โทรศัพท์, ที่อยู่, ข้อมูลส่วนตัวต่างๆ และยังสามารถจัดเก็บข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการค้นหารายชื่อได้อีกด้วย 3. บันทึกข้อความส่วนตัวหรือข้อความทั่วๆไปในโปรแกรมสมุดบันทึก 4. บันทึกข้อความเสียงหรือบทสนทนาเพื่อที่จะนำมาเปิดฟังในภายหลังได้ (ระบบ Voice Memo นี้จะสนับสนุนเฉพาะบางรุ่น) 5. ติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเพื่อให้ตรงความต้องการในการใช้งานของแต่ละบุคคลได้ 6. สามารถใช้งานโปรแกรม Office อย่างเช่น Microsoft Word หรือ Excel ได้ใกล้เคียงกันกับในคอมพิวเตอร์ 7. สามารถเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์เพื่อแลกเปลี่ยน, โอนถ่าย หรือจัดเก็บข้อมูลได้ 8. สามารถเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ PDA หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อแลกเปลี่ยน, โอนถ่าย หรือจัดเก็บข้อมูลได้ 9. ใช้การเชื่อมโยงได้หลายลักษณะ เช่น การใช้สาย Cable และการเชื่อต่อแบบไร้สายอย่าง Infrared, Wi-Fi หรือ Bluetooth 10. สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อดูข้อมูลในเว็บไซต์หรือรับ-ส่งอีเมล์ได้อย่างง่ายดาย 11. สามารถใช้ งานร่วมกับเครื่อง GPS หรือเครื่องนำทางระบบดาวเทียมได้ 12. ใช้ในลักษณะของความบันเทิงอย่างเช่น การดูหนัง, ฟังเพลง และเล่นเกมส์ได้ 13. บันทึกภาพถ่ายในเหตุการณ์สำคัญๆที่เราอยากจะเก็บไว้ด้วยความสามารถของกล้องดิจิตอลที่ติดมากับตัวเครื่อง (ระบบ Digital Camera นี้จะสนับสนุนเฉพาะบางรุ่น) 14. เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมภายนอกอย่างเช่น คีย์บอร์ด, โมเด็ม, กล้องดิจิตอล และอื่นๆอีกมากมาย 15. เพิ่มเติมหน่วยความจำด้วยการ์ดหน่วยความจำภายนอกอย่างเช่น SD, MMC และ Memory Stick ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงความสามารถโดยรวมของ Palm เท่านั้น จากนี้ไปเราก็จะนำมาประยุกต์เพื่อให้ตรงกับความต้องการของเรา และสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ Smart Phone Smart Phone คืออะไร Smart Phone หมายถึงโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถพิเศษเพิ่มเติมของ PDA เข้าไป ทำให้สามารถมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น รับส่งอีเมล์ มีปฏิทิน จัดทำตารางนัดหมาย และ contact เป็นต้น เรียกได้ว่า Smart Phone เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมเลยทีเดีย คุณสมบัติเด่นของ Smart Phone ระบบปฏิบัติการ หรือ OS (Operating System) เป็นระบบที่ช่วยให้การทำงานของโทรศัพท์มีประสิทธิภาพ และเป็นตัวกำหนดว่าโปรแกรมต่างๆ ที่จะสามารถติดตั้งเข้ากับ Smart Phone ได้หรือไม่ด้วย สำหรับระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมใช้งานบน Smart Phone ได้แก่ Symbian OS, Windows Mobile, Palm OS หรือแม้กระทั่ง Linux OS อุปกรณ์ต่อพ่วงที่ใช้สำหรับ Smart Phone - หูฟัง Bluetooth - หูฟังแบบไร้สาย ที่อาศัยเทคโนโลยี Bluetooth ในการสื่อสาร โดยสามารถพูดคุยได้ โดยไม่จำเป็นต้องวางโทรศัพท์ไว้ใกล้ตัวเอรา ปกติจะสามารถใช้งานในระยะประมาณ 10 เมตร ทั้งนี้ขึ้นกับประสิทธิภาพของ Bluetooth - แป้นพิมพ์ - Keyboard - ช่วยให้เกิดความสะดวกในการพิมพ์ข้อความ โดยเฉพาะอีเมล - จอยสติ๊ก JoyStick - สำหรับเล่นเกมส์บนมือถือ เพื่อความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น - อื่นๆ อีกมากมาย PDA Phone, Palm Phone คืออะไร การนำ PDA หรือ Pocket PC มาเพิ่มความสามารถในการใช้งานโทรศัพท์ ส่วน Palm Phone ก็คือเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Palm มาเพิ่มความสามารถในการใช้งานโทรศัโทรศัพท์แบบ Smart PhoneDopod 838 PDA Phone - HTC Smart Phone - Motorola A1000 - Nokia 6680 - O2 XDA II - Samsung i600 - Sony Ericsson P800, P900 ด้วยการทำงานของ Smart Phone ที่มีความหลายหลาย และใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ สามารถติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมเข้าไปได้ ดังนั้น ปัญหาที่อาจเกิดตามมาโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ง่ายๆ นั่นคือ ไวรัส ซึ่งจะมีลักษณะการทำงานคล้ายๆ กับไวรัสคอมพิวเตอร์ คงต้องชั่งใจ สักนิด ก่อนเลือกซื้อ แหล่งอ้างอิง:https://sites.google.com/site/namchompoonuch/team-schedules

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี 3G

เทคโนโลยี 3G คืออะไร ? [ 2009-01-07 00:28:18 ] เก็บเป็นรายการโปรด กลุ่ม : โลกไซเบอร์ เทคโนโลยี 3G คืออะไร ω 3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 ยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยี ในปัจจุบันเข้าด้วยกัน ใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น 3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 3G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ, รับ - ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่, ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยี จากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น 3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว "Always On" มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC 3G คือ มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการให้บริการด้านระบบเสียงที่ดีขึ้น มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า เพิ่มประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วสูง พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น ที่มาข้อมูล : http://www.azooga.com

บริการต่างๆของ Google

เปิด/ปิดบริการ ผู้ดูแลระบบสามารถควบคุมการเข้าถึงของผู้ใช้สำหรับบริการประเภทต่างๆ ของ Google ซึ่งได้แก่: Google Apps for Business อันได้แก่เวอร์ชันสำหรับองค์กรของ Gmail, ปฏิทิน, ไดรฟ์ และอื่นๆ อีกมากมาย สามารถดูแอปพลิเคชันที่ใช้ได้จาก Google Apps Marketplace บริการอื่นๆ ของ Google อันได้แก่ บล็อกเกอร์, YouTube, และอื่นๆ อีกมากมาย ผู้ดูแลระบบสามารถเปิดบริการสำหรับทั้งองค์กรหรือหน่วยขององค์กร ตัวอย่างเช่น ในการปิด Google+ เฉพาะสำหรับผู้ใช้ที่เป็นพนักงานชั่วคราว ให้สร้างหน่วยขององค์กรสำหรับพนักงานชั่วคราวขึ้น โดยประกอบด้วยผู้ใช้เหล่านี้ และปิด Google+ สำหรับหน่วยขององค์กรดังกล่าว มีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้: วิธีควบคุมการเข้าถึงบริการต่างๆ จะแตกต่างกันไปตามส่วนติดต่อผู้ใช้ของคอนโซลการดูแลระบบ (ฉันใช้คอนโซลการดูแลระบบแบบไหน) บริการบางอย่างอาจขึ้นอยู่กับบริการอื่น ตัวอย่างเช่น Google+ จะขึ้นอยู่กับปฏิทิน, ไดรฟ์, Talk และ Picasa กล่าวคือคุณไม่สามารถเปิด Google+ ถ้าบริการอื่นเหล่านี้ไม่เปิดอยู่ การเปิด/ปิดบริการอาจใช้เวลาถึง 24 ชั่วโมงจึงจะมีผล ในการควบคุมการเข้ัาถึงบริการสำหรับผู้ใช้รายเดียว ให้สร้างหน่วยขององค์กรที่มีเพียงผู้ใช้รายนั้น ที่มาhttps://support.google.com/a/answer/182442?hl=th

FTp (file transfer protocol)

FTP (File Transfer Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานในอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการแลกเปลี่ยนไฟล์ ระหว่างคอมพิวเตอร์บนอินเตอร์เน็ต คล้ายกับ Hypertext Transfer Protocol (HTTP) ที่ใช้ในการส่งเว็บเพ็จและไฟล์ที่เกี่ยวข้อง และ Simple Mail Transfer Protocol (SMPT) ที่ใช้ส่งผ่าน e-mail ซึ่ง FTP เป็นโปรโตคอลประยุกต์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP โดย FTP ใช้ในการส่งไฟล์เว็บเพจจากแหล่งที่เก็บไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแสดงฐานะเป็นเครื่องแม่ข่าย สำหรับทุกคนบนอินเตอร์เน็ต และนิยมใช้ในการ download โปรแกรมและไฟล์มายังเครื่องคอมพิวเตอร์จากเครื่องแม่ข่ายอื่น ในฐานะผู้ใช้ การใช้ FTP สามารถใช้คำสั่งติดต่อแบบ command line (เช่นเดียวกับคำสั่งของ MS_DOS) web browser สามารถสร้างคำขอ FTP เพื่อ download โปรแกรมที่เลือกจากเว็บเพจนอกจากนี้ FTP สามารถใช้ปรับปรุงไฟล์บนเครื่องแม่ข่าย โดยต้อง logon ไปที่ FTP server การสนับสนุน FTP โดยพื้นฐานในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งโปรแกรมที่มากับ TCP/IP อย่างไรก็ตามโปรแกรม FTP แบบ client ที่มีการติดต่อแบบ GUI ต้อง download จากบริษัทที่ผลิต ที่มาhttp://www.dstd.mi.th/board/index.php?topic=474.0

E-mail

E-Mail คืออะไร E-Mail ย่อมาจาก EIectronic-Mail คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Internet )การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม word จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า E-mail Address เป็นหลักในการรับส่ง แต่ถ้าในกรณีที่เป็นการส่งอีเมล หรือข้อความโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับ เราเรียกว่า Spam และเรียก อีเมลนั้นว่าเป็น spam mail ประโยชน์ของ E-Mail 1.รวดเร็ว เชื่อถือได้ 2.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง และลดการใช้กระดาษ 3.ลดเวลาในการส่งเอกสารลง เพราะผู้ส่งไม่ต้องเสียเวลาไปส่งเอง หรือรอไปรษณีย์ไปส่งให้ 4.ผู้ส่งสามารถส่งเอกสารได้ตลอดไม่จำกัดเวลา หรือระยะทางในการส่ง ในขณะที่ผู้อ่านก็สามารถเปิดอ่านเอกสารได้ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน 5.สามารถส่งต่อกันได้สะดวก และผู้ส่งสามารถส่งให้ผู้รับได้พร้อมๆกันหลายคนในเวลาเดียวกัน ข้อมูลอ้างอิง http://guru.sanook.com http://mtbkzone.exteen.com http://www.ismed.or.th

Game Online กับการศึกษา

เทคโนโลยีสารสนเทศ คืออะไร เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) คือ เทคโนโลยีสองด้านหลักๆ ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์ ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การสื่อสาร มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่า โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์ อินเทอร์เน็ต อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอกเนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ IT มีราคาถูกลงมาก ภัยแฝงออนไลน์ สารสนเทศมากมายมหาศาล ทั้งดีและไม่ดี ส่งตรงถึงห้องนอน คนแปลกหน้า/ผู้ไม่ประสงค์ดี ใช้ไอทีเป็นช่องทางหาเหยื่อ เราอาจตกเป็นผู้ถูกกระทำหรือเป็นผู้กระทำเสียเอง สังคมออนไลน์ การรวมกลุ่ม ค่านิยม แฟชั่น ทำให้เด็กและเยาวชนคล้อยตาม ตกเป็นทาสของเทคโนโลยี ความฟุ้งเฟ้อ ความเชื่อผิดๆ การที่ใช้งานง่าย แพร่หลาย ราคาถูก ทำให้เสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย/ผิดศีลธรรม ทั้งที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือโดยเจตนาก็ตาม การใช้เวลากับของเล่นไอที/โลกออนไลน์มากจนเกินไป ส่งผลในด้านลบ อาจทำให้เสียโอกาสการเรียนรู้ในด้านอื่นๆ การเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับเด็ก กฎสำหรับการใช้อีเมล์ ไม่ให้ที่อยู่อีเมล์แก่คนที่เราไม่รู้จัก ไม่เปิดอีเมล์จากคนหรือองค์กร/ธุรกิจที่เราไม่รู้จัก อีเมล์อาจจะมีสิ่งที่ไม่ดีมากมาย เช่น เรื่องราวที่ไม่เป็นจริง การติฉินนินทา และจดหมายลูกโซ่ที่พยายามจะเอาเงินจากกระเป๋าเรา ไวรัส อาจผ่านมากับข้อมูลอีเมล์ เข้ามาสู่คอมพิวเตอร์ของเรา ภาพที่ไม่เหมาะสม ผิดกฎหมาย ภาพยนตร์ อาจถูกส่งมาพร้อมกับข้อมูลอีเมล์ วิธีการจัดการกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมที่ปรากฎบนจอคอมพิวเตอร์ ปิดหน้าเว็บ ไม่ได้ผล ปิดเบราเซอร์ browser ถ้ายังไม่ได้ผล ปิดคอมพิวเตอร์พร้อมกับแจ้งผู้ปกครองหรือครู จำไว้ว่า เราสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาโดยการบอกให้คนอื่นทราบหากเราพบอะไรผิดพลาด กฎของการแชท ไม่สามารถเชื่อได้ว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นคนอย่างที่เค้าพูด อย่าให้ชื่อจริง ควรใช้ชื่อสมมุติ อย่าให้ข้อมูลว่าคุณอยู่ทีไหน หมายเลขโทรศัพท์ (โทรศัพท์มือถือ) เรียนอยู่ที่ไหน พ่อแม่เป็นใคร ทำความเข้าใจให้ชัดเจนถึงกฎของแต่ละห้องแชท ที่จะเข้าไปเล่น ให้จำไว้ว่าคุณอาจเป็นบุคคลนิรนามในอินเทอร์เน็ต แต่บ่อยครั้งที่คนอื่นสามารถสืบเสาะได้ว่าใครเป็นคนใส่ข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ต้องมีความสุภาพกับผู้อื่นเสมอ กฎของการแชท การสื่อสารทางออนไลน์ ไม่ออกไปพบกับบุคคลที่พบ รู้จักสื่อสารผ่านทางออนไลน์ ถ้ารู้สึกถูกกดดัน จากการสื่อสารออนไลน์กับใคร ให้ปรึกษากับผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบ ให้ชื่ออีเมลกับเพื่อนที่รู้จักดี ไม่ควรให้กับคนแปลกหน้า ปรึกษา หารือกับผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบเสมอ อย่าให้ถูกหลอกล่อ หรือถูกกดดันเพื่อไปพบเจอกับคนที่รู้จักออนไลน์ หากถูกใครหรือสิ่งใดรบกวนในห้องแชท ให้รีบออกจากการสนทนา และอย่าติดต่อ สนทนาอีก กฎ – การป้องกันไวรัส และข้อมูลขยะ หากข้อมูลบางอันรู้สึกดีเกินที่จะเชื่อได้ สรุปได้เลยว่าไม่จริง ให้ระวังอีเมล์ที่บอกว่าโปรดส่งต่อให้ทุก ๆ คน เพราะอาจจะมีแต่เรื่องหลอกลวงไร้สาระ หรือมีไวรัสที่ไม่ควรส่งต่อ อย่าเข้าไปในเวบไซด์ของธนาคารใด ๆ ที่อ้างบอกให้คุณแจ้งรหัสผ่าน เก็บรหัสผ่านเป็นความลับเสมอ ให้ระมัดระวัง เวบไซด์ที่ให้ดาวน์โหลดฟรี หรือมีเกมให้เล่นฟรี เพราะอาจเต็มไปด้วยไวรัส หรือจะมีข้อมูลที่ไม่เหมาะสมส่งมาให้คุณ บางครั้ง บางคนอาจจะใช้ เล่ห์ ลวงให้คุณเชื่อมต่อไปยังเวบไซด์ที่ไม่เหมาะสม กฎการเผยแพร่เรื่องราวในเว็บบล็อก ตรวจสอบให้มั่นใจว่าใส่เฉพาะข้อมูลที่ปลอดดภัย ให้มีรหัสส่วนตัวเพื่อปกป้องรูปภาพของคุณ ต้องได้รับการอนุญาตจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ในการสร้างเวบไซด์ของคุณเอง และให้ท่านเหล่านั้นช่วยตรวจสอบ ทบทวนสม่ำเสมอ อย่าใส่เรื่องราวส่วนตัวเข้าไปในเว็บบล็อก หรือ ในการสนทนากลุ่ม จำเป็นต้องมีความระมัดระวังมาก ๆ ในการใส่อะไรลงไปในอินเทอร์เน็ต เพราะทันทีที่มีการเผยแพร่คนจากทั่วโลกสามารถเห็นได้ และอาจมีการนำข้อมูลไปใช้ในทางผิด ๆ ข้อแนะนำการใช้อินเตอร์เน็ต เรียนรู้เกี่ยวกับมารยาททั่วไปในการใช้อินเทอร์เน็ต netiquette ทำตามหลักพื้นฐานความปลอดภัย และเรียนรู้วิธีการ แนวปฏิบัติเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เสี่ยงออนไลน์ มารยาททั่วไปในการใช้อินเตอร์เน็ต ไม่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อล่วงละเมิดหรือรบกวน ผู้อื่น ไม่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการใด ๆ ที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรม ไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้ในทางที่ผิด หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลนั้น ๆ ไม่บอกรหัสกับผู้อื่นแม้แต่เพื่อนสนิท ไม่ใช้บัญชีชื่อผู้ใช้ของผู้อื่น หรือใช้เครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ยืมหรือใช้โปรแกรม รูปภาพ หรือข้อมูลของผู้อื่นบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้ร้บอนุญาตจากเจ้าของ ไม่ฝ่าฝืนข้อห้ามของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ไม่เจาะเข้าระบบของผู้อื่นหรือท้าลองให้ผู้อื่นเจาะระบบของตัวเอง หากพบมีการรั่วไหลในระบบ หรือบุคคลน่าสงสัยให้รีบแจ้งผู้ให้บริการในทันที หากต้องยกเลิกการใช้อินเตอร์เน็ตให้ลบข้อมูลทั้งหมดและแจ้งผู้ดูแลเว็บไซต์ ารทิ้งบัญชีชื่อผู้ใช้งานไว้บนอินเตอร์เน็ตอาจทำให้มีผู้ไม่หวังดีเจาะเข้ามาในระบบได้ กฎความปลอดภัย ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเช่น เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ชื่อเพื่อนหรือผู้ปกครอง ไม่นัดแนะเพื่อพบปะกับบุคคลที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่บอกผู้ปกครอง ไม่ส่งรูปหรือข้อมูลส่วนตัวให้กับคนที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต ไม่ให้ความสนใจหรือตอบโต้กับคนที่ถ้อยคำหยาบคาย ไม่โหลดสิ่งที่ไม่คุ้นเคยหรือเปิดเอกสารจากอีเมล์ของคนที่เราไม่รู้จัก หากพบข้อความหรือรูปภาพรุนแรง ให้รีบแจ้งผู้ปกครองหรือคุณครู เคารพในกฎระเบียบ นโยบาย หรือข้อตกลงที่ให้ไว้กับผู้ปกครองและคุณครูในการใช้อินเตอร์เน็ต 10 วิธี ดูแลบุตรหลานที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต พ่อแม่ควรเรียนรู้เรื่องอินเทอร์เน็ตบ้าง ใช้เวลาท่องอินเทอร์เน็ตกับลูกให้มากที่สุด หรืออย่างน้อยต้องพูดคุยกัน ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องรวมของครอบครัว ท่านต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้งานอินเทอร์เน็ตก่อนที่จะสอนลูก สอนลูกให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งานแต่ละอย่าง เช่น อีเมล์ แช็ต กลุ่มข่าว เว็บ การสำเนาข้อมูล รวมถึงกฎกติกามารยาทออนไลน์ ส่งเสริมให้ลูกใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างสนุก ปลอดภัย และได้ประโยชน์ หมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก ดูว่าเขาทำตัวแปลกไปกว่าที่เคยหรือไม่ พูดคุยกับลูกให้เข้าใจแต่แรก ถึงขอบเขตการใช้งานอินเทอร์เน็ต ผู้ปกครองอาจติดตั้งโปรแกรมบล็อกเว็บไซต์ได้ หากท่านพบอะไรที่เหลือบ่ากว่าแรง อย่ารีรอที่จะขอความช่วยเหลือ แหล่งที่มา http://www.ecpat-thailand.org/th/make%20it%20safe.html

ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านต่างๆ.

ประโยชน์และตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้คนในสังคมมีการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ง่ายและรวดเร็ว มีการทำกิจกรรมหลายสิ่งหลายอย่างร่วมกันง่ายขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น 1.3.1 ด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอก่สทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการศึกษา 1. การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ทำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลหรือไม่สะดวกในการเดินทางสามารถได้รับการศึกษาเช่นเดียวกับผู้ที่อยู่ในเมือง 2. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ภาษาต่างประเทศ ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจมากขึ้น และเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น การแสดงสถาณการณ์จำลอง แบบจำลอง ภาพเคลื่อนไหว แสงสีและเสียงประกอบ นักเรียนสามารถเตรียมตัวก่อนเรียน หรือทบทวนบทเรียนด้วยตนเองเมื่อใดก็ได้ที่มีเวลาว่าง 3. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับผู้พิการทางสายตาหรือหู เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทต่อการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษาได้เป็นอย่างดี ทั้งในและนอกสถานศึกษา หน่วยงานต่างๆ ใช้บทเรียนออนไลน์ในการฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ความรู้เพิ่มเติม นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่ทั้งครูและนักเรียนหรือบุคคลทั่วไป ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลเรื่องต่างๆ ในการทำรายงาน หรือเพื่อศึกษาหาความรู้ เว็บไซต์สำหรับค้นหาข้อมูลที่ใช้กันมากในปัจจุบัน เช่น google.com, ask.com, dogpile.com และ wikipedia.org ตัวอย่างการค้นหาข้อมูลจากหลักฐานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เกร็ดน่ารู้ ระบบการลงทะเบียนเรียน การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาสามารถเลือกลงทะเบียนเรียนวิชาต่างๆที่กำหนดไว้ในหลักสูตรได้ โดยสามารถตรวจสอบได้ทันทีว่า มีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง และการเรียนการสอนเป็นวันอะไรเวลาอะไร วิชานั้นๆมีผู้สมัครเรียนกี่คน เต็มจำนวนที่สามารถรับแล้วหรือไม่ ซึ่งจะทำให้มีการปรับเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เพื่อให้นักศึกษาสามารถรับข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถลงทเบียนเรียนได้อย่างถูกต้อง โดยระบบคอมพิวเตอร์จะทำการตรวจสอบวิชาที่บันทึกแต่ละวิชาว่าติดขัดข้อกำหนดหรือไม่ จากนั้นระบบคอมพิวเตอร์ก็จะทำการพิมพ์รายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียน พร้อมทั้งคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่นักศึกษาต้องจ่ายเป็นค่าลงทะเบียนเรียน เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการลงทะเบียนแล้ว ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีข้อมูลในฐานข้อมูลที่ปรับเปลี่ยนให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอจะทำการการพิมพ์รายงานการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษาในแต่ละวิชา เพื่อแจ้งให้อาจารย์ผู้สอนวิชานั้นๆ ได้ทราบว่าแต่ละวิชามีนักศึกษาผู้ใดลงทะเบียนเรียนบ้าง เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้นกี่คน ข้อมูลต่างๆในฐานข้อมูลนี้อาจถูกนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้อีก เช่น การจัดห้องสอบ การพิมพ์รายชื่อนัดศึกษาเพื่อการกรอกคะแนนและเกรด นักศึกษาตรวจสอบวิชาที่เปิดสอน ตารางสอน ตรวจสอบวิชาว่าติดขัดข้อกำหนดใดหรือไม่ พิมพ์รายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนและคำนวณค่าใช้จ่ายการลงทะเบียน พิมพ์รายงานการลงทะเบียนของนักศึกษาในแต่ละวิชา ข้อมูลต่างๆ ในฐานข้อมูลนี้อาจถูกนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้อีก เช่น การจัดห้องสอบ การจัดพิมพ์รายชื่อนักศึกษา เพื่อการกรอกคะแนนและเกรด 1.3.2 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มต้งแต่การทำทะเบียนคนไข้ การรักษาพยาบาลทั่วไป ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ ได้อย่ารวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ ( EMI scanner ) ถูกนำมาใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง เช่น ดูเนื้องอกพยาธิเลือดออกในสมอง และต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่า ซีเอที ( CAT-Computerized Axial Tomography scanner: CAT scanner ) ใช้วิธีฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบๆ ร่างกายของมนุษย์ ถ่ายเอ็กซเรย์และเครื่องรับแสงเอกซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอ็กซเรย์ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก จากนั้นจะนำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และแสดงผลลัพธ์เป็นภาพทางจอโทรทัศน์หรือพิมพ์ภาพออกมาทางเครื่องพิมพ์ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมนด้านการแพทย์และสาธารณสุข .3.3 ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม เช่น การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการเกษตรและพยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม การประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ทำงานบ้าน และหุ่นยนต์เพื่องานอุตสาหกรรมที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรงงาน สารเคมี โรงผลิตและควบคุมการจ่ายไฟฟ้า รวมถึงงานที่ต้องทำซ้ำๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ และโรงงานแบตเตอรี่ ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการผลิตและควบคุมคุณภาพสินค้า การส่งสินค้าตามใบสางสินค้า การควบคุมวัสดุคงคลัง และการคิดราคาต้นทุนสินค้า ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านอุตสาหกรรม 1.3.4 ด้านการเงินการธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ในด้านการเงินและธนาคาร โดยใช้ช่วยงานด้นบัญชี การฝากถอนเงิน โอนเงิน บริการสินเชื่อ แลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าวสารการธนาคาร การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่รู้จักและนิยมใช้กันทั่วไป เช่น บริการฝากถอนเงิน การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วต่อการดำเนินธุรกิจต่างๆ 1.3.5 ด้านความมั่นคง มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย เช่น ใช้ในการควบคุมประสานงานวงจรสื่อสารทหาร การแปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ การส่งดาวทียมและการคำนวณวิถีการโคจรของจรวดไปสู่อวกาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติของประเทศไทยมีศูนย์ประมวลข่าวสาร มีระบบมีระบบจัดทำระเบียนปืน ทะเบียนประวัติอาชญากร ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสืบสวนคดีต่างๆ ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก้านความมั่นคง 1.3.6 ด้านการคมนาคม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง เช่น การเดินทางโดยรถไฟ มีกรเชื่อมโยงข้อมูลการจองที่นั่งไปยังทุกสถานี ทำให้สะดวกต่อผู้โดยสาร การเช็คอินของสายการบิน ได้จัดทำเครื่องมือที่สะดวกต่อลูกค้า ในรูปแบบของการเช็คอินด้วยตนเอง 1.3.7 ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ หรือจำลองสภาวการณ์ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยการคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง ตัวอย่างซอฟแวร์การเกิดแผ่นดินไหว 1.3.8 ด้านการพาณิชย์ องค์กรในภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรในการทำงาน ทำให้การประสานงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานในองค์กร หรือระหว่างองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ปรับปรุงการให้บริการกับลูกค้าซึ่งเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีขององค์กรต่อลูกค้าทั่วไป สิ่งเหล่านี้นับเป็นการสร้างโอกาสความได้เปรียบแช่งขันให้กับองค์กร ตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในด้านการพาณิชย์ เช่น การให้บริการชำระค่าสินค้าบริการ การสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต และการตรวจสอบราคาสินค้าผ่านเครื่องอ่านราคาสินค้า ที่มาhttps://sites.google.com/site/kruyutsbw/prayochn-laea-tawxyang

การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในครอบครัวของตนเอง

การนำเทคโนโลยีสารนิเทศมาใช้กับสังคมสารนิเทศใน ปัจจุบันก่อให้เกิดการสื่อสารและการใช้ประโยชน์ จากสารนิเทศได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารนิเทศมีดังต่อไปนี้ คือ 1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ 2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน 3. ช่วยให้เก็บสารนิเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างสะดวก 4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารนิเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ด้วยการช่วยคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อนซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ UploadImage 5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ 6. สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น 7. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารนิเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า 8. ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ เทคโนโลยีสารนิเทศเบื้องต้นที่ควรนำมาใช้ในการดำเนินงานทั่วๆไป คือ การใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในการจัดการข้อมูล ในบรรดาองค์ประกอบของเทคโนโลยีสารนิเทศทั้งหมด คอมพิวเตอร์ นับว่ามีบทบาทมากที่สุดต่อการเป็น องค์ประกอบที่สำคัญ คอมพิวเตอร์เป็น อุปกรณ์สื่อสารนิเทศที่มีบทบาทอย่างมากต่อสังคมสารนิเทศ คอมพิวเตอร์ เปลี่ยนแปลงสภาพการให้บริการสารนิเทศในห้องสมุดจากการเสียเวลา สืบค้นสารนิเทศหลาย ๆ นาที หรือหลายชั่วโมงมาเป็นเสียเวลา เพียงไม่กี่วินาที คอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคม เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตที่มีบทบาทยิ่งกว่าเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่มนุษย์ได้ผลิตขึ้นใช้ในโลกมาก่อน คนในสังคมสมัยสังคมสารนิเทศจะเห็น พัฒนาการด้านนี้ได้อย่างเด่นชัด นับตั้งแต่มีการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก คอมพิวเตอร์ไม่ใช่เพียงสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่กลับเป็นสิ่งที่คนในสังคมสารนิเทศ ต้องรู้จักและมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นอุปกรณ์และองค์ประกอบที่สำคัญของเทคโนโลยีสารนิเทศ ที่บรรณารักษ์จะต้องนำมาใช้อยู่ตลอดเวลา เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนามาโดยลำดับ ตั้งแต่ยุคแรก (พ.ศ. 2487-2501) จนถึงยุคปัจจุบัน (พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา) ได้มีการนำเครื่อง คอมพิวเตอร์มาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เช่น งานจัดการเอกสารข้อมูลแบบ ต่าง ๆ งานระบบสารนิเทศเพื่อการจัดการและงานด้านระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นต้น และจากการแข่งขัน ในการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาถูก และสามารถใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นในสังคมสารนิเทศ ปัจจุบัน ในสังคมสารนิเทศปัจจุบัน กล่าวได้ว่า คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท ในชีวิตประจำวันของคนในสังคมมากยิ่งขึ้น บทบาทของคอมพิวเตอร์มีมากยิ่งขึ้นสำหรับผู้ที่ต้องการสารนิเทศ และสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการสารนิเทศเพื่อใช้ประโยชน์ กับตนเองก็หลีกเลี่ยงการ ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ด้านอื่น ๆ ไม่ได้ บทบาทของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการใช้สารนิเทศในสังคมมีดังต่อไปนี้ ด้านการศึกษา UploadImage การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการศึกษา แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา และใช้เป็นเครื่องมือในการสอน การใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาเกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา ซึ่งผู้บริหารการศึกษา จำเป็นต้องทราบสารนิเทศต่าง ๆ ทางด้าน นักศึกษา ด้านแผนการเรียน ด้านบุคลากร ด้านการเงิน และด้านอาคารสถานที่และอุปกรณ์ ข้อมูลแต่ละด้านที่ได้จากคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารการศึกษาสามารถนำมาใช้ช่วย ในการตัดสินใจได้ การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นเครื่องมือในการสอน เป็นการช่วยให้ครูใช้ความรู้ ความสามารถพิเศษให้เป็นประโยชน์แก่ระบบการศึกษาได้มากขึ้น การนำคอมพิวเตอร์เข้า มามีส่วนช่วยในการสอน และการศึกษามีประโยชน์ในเรื่องดังต่อไปนี้ คือ 1. เพื่อการสอนแบบตัวต่อตัว 2. เพื่อฝึกทักษะต่าง ๆ ในการเรียน 3. เพื่อการสาธิต 4. เพื่อการเล่นเกมและสถานการณ์จำลอง 5. เพื่อสอนงานด้านการเขียน 6. เพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอน 7. เพื่อช่วยผู้เรียนที่มีปัญหาเฉพาะตัว ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์กำลังมีบทบาทต่อการศึกษาด้านภาษา เป็นเพราะว่าแต่เดิมมานั้น คอมพิวเตอร์มีบทบาท เฉพาะการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นในประเทศที่ใช้ ภาษาอังกฤษ แต่ในขณะนี้สังคมข่าวสารไม่ ได้สกัดกั้นในการรับรู้สารนิเทศในภาษาอื่น ๆ มีการสร้างโปรแกรม ภาษาต่าง ๆ เช่น ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลียน รัสเซีย สเปน และแม้แต่ภาษาทางด้านตะวันออก เช่น ภาษาอารบิค จีน ฮิบรู ญี่ปุ่น เกาหลี การสร้างโปรแกรมภาษาต่าง ๆ จัดทำโดยผู้ที่รู้ภาษานั้น ๆ โดยตรง หรือผู้ที่สนใจในการสร้าง โปรแกรมภาษาต่าง ๆ เช่น การสร้างโปรแกรม การใช้ภาษาไทย หรือ ภาษาลาว ตลอดจนการใช้โปรแกรมภาษาพม่า ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดย วิศวกรไทย คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวกลางในการขจัดปัญหาเรื่องความไม่เข้าใจภาษาระหว่าง ชนชาติในอนาคต ในประเทศสหรัฐอเมริกา คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีบทบาทในด้าน การศึกษา มี การใช้คอมพิวเตอร์ มากขึ้นในระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา มีการคาดหมายว่าจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในชั้นเรียน จาก 1:40 ในปี พ.ศ. 2529 เป็น 1 ต่อ 20 ภายในปี พ.ศ. 2533 คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร ทางด้านการศึกษาได้ เป็นอย่างดีไม่เฉพาะแต่ภายในสถานศึกษาเท่านั้น บริษัทเอกชนต่าง ๆ สามารถนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของตน ให้ได้รับการศึกษา หรือฝึกอบรมในงานหน้าที่ได้เป็นอย่าง ดีด้วย การใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษา จะเป็นเรื่องธรรมดาในระบบการศึกษาต่อไป ด้านการแพทย์และสาธารณสุข คอมพิวเตอร์มีบทบาทอย่างสูงทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวย ความสะดวก อย่างยิ่งในด้านการแพทย์ เริ่มตั้งแต่การรักษาพยาบาล ทั่ว ๆไป โรงพยาบาลบางแห่งใช้คอมพิวเตอร์ ในการทำทะเบียนคนไข้ ตลอดจนการวินิจฉัย และรักษาโรคต่าง ๆ จากการใช้ประโยชน์ของสารนิเทศที่ได้ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขอาจเกี่ยวข้องในด้านต่อไปนี้ คือ ด้านการ รักษาพยาบาลทั่วไป ด้านการบริหารการแพทย์ ด้านห้องทดลอง ด้านตรวจวินิจฉัยโรค และด้านการศึกษา และวิจัยทางการแพทย์ การใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้านการแพทย์และ สาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันคือ ด้านวินิจฉัยโรคและด้านการศึกษาและวิจัยทางการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถค้นคว้าข้อมูลทาง การแพทย์เพิ่มเติมได้ตลอดเวลา เป็นการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุข อย่างไม่หยุดยั้ง คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการให้ข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยโรค สำหรับทำการรักษา ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น ในวงการแพทย์เริ่มรู้จักใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ (EMI Scanner) เมื่อปี พ.ศ. 2515 เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจดูเนื้อ งอก พยาธิ เลือดออกในสมองและความผิดปกติอื่น ๆ ในสมอง ต่อมาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย เรียกชื่อว่าซีเอที (CAT-Computerized Axial Tomographic Scanner) มีวิธีการฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบ ๆ ร่างกายของมนุษย์ที่ต้องการ ถ่ายเอกซเรย์และเครื่องรับแสงเอ็กซเรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอกซเรย์ ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าไปเก็บไว้ในจาน หรือแถบแม่เหล็ก แล้ว นำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเ ตอร์ ซึ่งเมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาก็นำไป เก็บในส่วนความจำ และพิมพ์ภาพออกมาหรือแสดงเป็นภาพทางจอโทรทัศน์ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จึงเป็นตัวอย่าง ของการใช้คอมพิวเตอร์ในการวินิจฉัยและรักษาโรค ด้านอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์มีส่วนช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์หุ่นยนต์ เพื่อใช้ในบ้านและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ทั้งนี้หุ่นยนต์จะเป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบการทำงานของอวัยวะ ส่วนบนของมนุษย์ ประกอบด้วยระบบทางกลของหุ่นยนต์ และระบบควบคุมหุ่นยนต์ ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม ซึ่งควบคุมการทำงานของ หุ่นยนต์โดยอัตโนมัติด้วยคอมพิวเตอร์ นับเป็นส่วนสำคัญที่สุดของหุ่นยนต์ ระบบควบคุมนี้ทำหน้า ที่เป็นสมองเก็บข้อมูลสั่งหุ่นยนต์ ให้ทำงานตรวจสอบและควบคุมรายละเอียดของการทำงาน ให้ถูกต้อง การประดิษฐ์หุ่นยนต์อุตสาหกรรมอำนวยประโยชน์ในการช่วยทำงานใน อุตสาหกรรมที่สำคัญคือ งานที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรงงานยา ฆ่าแมลง โรงงานสารเคมี ง านที่ต้องการความละเอียด ถูกต้อง และรวดเร็ว เช่น โรงงาน ทำฟันเฟืองนาฬิกา โรงงานทำเลนส์กล้องถ่ายรูป และงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ ซาก ๆ และ น่าเบื่อหน่าย เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานประกอบวงจรเบ็ดเสร็จ หรือไอซี และโรงงานทำแบตเตอรี่ เป็นต้น การประดิษฐ์สิ่งของหรือผลิตภัณฑ์บางอย่าง ในโรงงานอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทอย่างสูงต่อการ ควบคุม การผลิตสินค้าโดยไม่ต้องใช้แรงงานคนมาก เป็นการประหยัดแรงงาน นอกจากด้านการผลิตสินค้าแล้ว คอมพิวเตอร์ยังมีส่วนช่วยต่อการจัด ส่งสินค้า ตามใบสั่งสินค้า การควบคุมวัสดุคงคลัง และการคิดราคาต้นทุนสินค้า เป็นต้น ด้านเกษตรกรรม การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม ได้แก่ การจัดทำระบบ ข้อมูลเพื่อการเกษตร ซึ่งอาจมีทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ สำหรับระดับ นานาชาตินั้น อาจจะเริ่มด้วย สำมะโนเกษตรนานาชาติ ซึ่งสถาบันการเกษตรระหว่างประ เทศ (International Institute of Agriculture) ได้เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2473โดยมีประเทศต่าง ๆ ร่วมเก็บข้อมูล รวม 46 ประเทศ ต่อมาองค์การอาหารและเกษตร(FAO) ได้ดำเนินงานต่อในปี พ.ศ. 2493 และมีประเทศต่าง ๆ ร่วมโครงการเพิ่มเติมมากขึ้น ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ข้อมูลเพื่อเกษตรกรรมทางด้านสำมะโนเกษตร นอกจากนี้ยังใช้คอมพิวเตอร์ช่วยทำแบบจำลอง พยากรณ์ความต้องการ พยากรณ์ผลผลิตด้าน การเกษตร เป็นต้น ด้านการเงินการธนาคาร การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการเงินและการธนาคาร เป็นการนำคอมพิวเตอร์มา ช่วยในงานด้านการบัญชี และด้านการบริหาร การฝากถอนเงิน การรับจ่าย การโอนเงิน แบบอิเล็กทรอนิกส์ การหักบัญชีอัตโนมัติ ด้านสินเชื่อ ด้านแลกเปลี่ยนเงินตรา บริการข่าว สารการธนาคาร บริการฝากถอนเงินนอกเวลาและบริการอื่น ๆ การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่ประชาชนรู้จักและใช้กันอย่างแพร่ หลาย ได้แก่ บริการฝากถอนเงินนอกเวลา ซึ่งมีใช้กันทั้งในต่างประเทศและในประเทศ ไทย ซึ่งเรียกชื่อว่า บริการเงินด่วน หรือบริการเอทีเอ็ม ( Automatic Teller Machine - ATM ) ที่ธนาคารต่าง ๆ สามารถให้บริการเงินด่วนแก่ลูกค้าได้ ทำให้เกิด ความสะดวกรวดเร็วต่อการใช้เงินในการดำเนินงานทางธุรกิจต่างๆ ได้ ด้านธุรกิจการบิน ธุรกิจสายการบินมีความจำเป็นต้องนำคอมพิวเตอร์มาใช้ เพื่อให้สามารถให้บริการได้รวดเร็ว เพื่อการแข่งขันกับ สายการบินอื่น ๆ และเพื่อรักษาความปลอดภัยในการบินโดยช่วยตรวจสอบสภาพเครื่องและอุปกรณ์ได้ อย่างถูกต้องแน่นอนและสม่ำเสมอ ธุรกิจที่มีการนำ คอมพิวเตอร์มาใช้ด้านการบิน อาจแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ผู้โดยสาร สินค้าพัสดุภัณฑ์ และ บริการอื่น ๆ ของสายการบิน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือระบบบริการผู้โดยสาร อาจจะ เริ่มด้วยระบบบันทึกตารางการบิน ซึ่งบันทึกและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลเที่ยวบิน เส้นทางบิน เวลาออกและเวลาถึง จำนวนที่นั่ง สารนิเทศด้านการบริการผู้โดยสารมีความสำคัญอย่างมาก และจำเป็นต้องได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดยปราศจากปัญหาทางด้านเวลา และสถานที่ รายการบินต่าง ๆ จึงได้แข่งขันในการสร้างฐานข้อมูล ทางด้านนี้ บางสายการบินได้รวมตัวกัน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการใช้สารนิเทศร่วมกัน ด้านกฎหมายและการปกครอง ทางด้านกฎหมายและการปกครอง มีการใช้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาด้านกฎหมาย คืองานระบบข้อมูล ทางกฎหมายมีการนำสารนิเทศที่เกี่ยวข้องกับตัวบทกฎหมายทุกฉบับ รัฐธรรมนูญทุกฉบับ กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวงประกาศต่างๆและอื่น ๆ เข้าคอมพิวเตอร์ทั้งหมด หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์จะ ช่วยในการค้นสารนิเทศทางด้านกฏหมายได้อย่างรวดเร็ว ดังตัวอย่างในประเทศ สหรัฐอเมริกา มีการใช้คอมพิวเตอร์ระบบแอสเปน (Aspen System Corporation) ซึ่งเป็นระบบข้อมูล ทางด้านกฎหมายที่ใช้กันมากกว่า 50 แห่ง นักกฎหมายและผู้ที่เกี่ยวข้องจึงได้ประโยชน์ในการ ค้นสารนิเทศในเวลา อันรวดเร็ว โดยเฉพาะในการค้นข้อมูลเกี่ยวกับคดีต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้น แล้ว เป็นต้น แทนที่จะค้นจากหนังสือ ซึ่งต้องเสียเวลาเป็นอันมาก การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการปกครอง ส่วนใหญ่ใช้ในกิจกรรมการเลือกตั้งดัง เช่นในประเทศไทย เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาล่าสุด มีการใช้คอมพิวเตอร์มาประมวล ผลข้อมูลการเลือกตั้ง ทำให้ประชาชนได้ทราบผลการเลือกตั้งได้อย่างรวดเร็ว ด้านการทหารและตำรวจ มีการใช้คอมพิวเตอร์ด้านการทหารและตำรวจ อย่างแพร่หลายในประเทศต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการทหารได้เจริญก้าวหน้าไปมากกว่า ประเทศอื่นใดในโลก แต่ผลงานด้านนี้มักจะเป็น ผลงาน ชนิดลับสุดยอดต่าง ๆ เท่าที่พอจะ ทราบกัน ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ในวงจรสื่อสารทหาร ใช้ในการควบคุม ประสานงาน ด้านการท หารใช้แปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ ใช้ในการผลิตระเบิดนิว เคลียร์ ใช้ในการทำสงครามจิตวิทยา ใช้ในการวิจัยเตรียมทำสงครามเชื้อโรค ใช้ในการสร้างขีปนาวุธ และใช้ในการส่ง ดาวเทียม จารกรรม เป็นต้น กรมตำรวจ กระทรวง มหาดไทย มีศูนย์ประมวลข่าวสารกรมตำรวจ มีคอมพิวเตอร์ ขนาดกลางใช้ทำทะเบียนปืน ทำทะเบียนประวัติอาชญากรรม ทำให้เกิดความสะดวกต่อการสืบสวนคดีต่าง ๆ ด้านอุตสาหกรรมการพิมพ์และธุรกิจอื่น ๆ บทบาทของคอมพิวเตอร์ต่อธุรกิจอุตสาหกรรมการพิมพ์ในปัจจุบันมีมาก หน่วยงานทางการพิมพ์ ตลอดจนสำนักข่าวใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดพิมพ์ต้นฉบับ ตรวจแก้ไข จนกระทั่งจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ทำให้การจัดทำหนังสือพิมพ์ วารสาร และหนังสือต่าง ๆดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว และถึงมือผู้อ่านได้อย่างทันท่วงที อุตสาหกรรมการพิมพ์เป็นธุรกิจที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนี้ และเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสารนิเทศ มีรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่คนงานในประเทศ สหรัฐอเมริกากว่า 50 ล้านคน ได้ใช้ประโยชน์จากการใช้คอมพิวเตอร์ ในการดำเนินงาน ทางธุรกิจ มีการใช้อุปกรณ์สื่อสารระบบสำนักงาน อัตโนมัติและเทคโนโลยีโทรคมนาคมอื่น ๆ ร่วมกับคอมพิวเตอร์ทำให้การดำเนินงานทาง ธุรกิจต่าง ๆ ดำเนินไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ไม่มีปัญหา ทางด้านระยะเวลา และสถานที่ต่อการติดต่อทางธุรกิจอีกต่อไป ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์มีมาก ในสถาบันการศึกษา ตลอดจนสถาบันวิจัยต่าง ๆ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การวิจัยในทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิชาว่าด้วยส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสาร การค้นคว้าทดลองทางวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มีการใช้คอมพิวเตอร์ ให้มีส่วนร่วมต่อการออกแบบโครงสร้าง ทางวิศวกรรมที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ทำให้มีส่วนช่วยต่อการออกแบบ ทางด้านวิศวกรรมและ สถาปัตยกรรมได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด บทบาทของคอมพิวเตอร์ทางด้านวิทยาศาสตร์จึงมี ประโยชน์ต่อการพัฒนาข้อมูลสารนิเทศอย่างไม่หยุดยั้ง จากการเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลสารนิเทศโดยระบบโทรคมนาคมคอมพิวเตอร์ มีบทบาทอย่างสูง ต่อการให้บริการข้อมูลอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ผู้ใช้สารนิเทศสามารถเรียกค้นข้อมูลจากผู้ให้บริการ สารนิเทศตั้งแต่เรื่องทั่ว ๆไปจนกระทั่งขอค้นรายละเอียดจากหนังสือสารานุกรมได้ และภายในบ้านเรือน คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อการใช้ของสมาชิกภายในครอบครัวทุกคนภายในบ้าน มีโอกาสได้เล่นเกมวีดิทัศน์ ด้วยความบันเทิงสนุกสนาน และ ศึกษาความรู้จากบทเรียนสำเร็จรูป ไปด้วยในตัว คอมพิวเตอร์สำหรับบ้าน เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็น สำหรับนักธุรกิจในการจัดเตรียมจดหมาย การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลสารนิเทศส่วนบุคคล และ การดำเนินงานกิจการต่าง ๆ ของสมาชิกภายในครอบครัว บทบาทของคอมพิวเตอร์ ยังมีอีกมากมายทางด้านต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้สารนิเทศ ต้องการใช้ในด้านใด คอมพิวเตอร์เมื่อนำมาใช้รวมกับระบบโทรคมนาคมการสื่อสาร สามารถจะเปลี่ยนอนาคตของสังคมปัจจุบัน เปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนต่อการทำ กิจกรรมต่าง ๆ สิ่งที่บรรณารักษ์จะหลีกเลี่ยงต่อไปไม่ได้ คือการนำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูล ภายในห้องสมุดโรงเรียน นับตั้งแต่การนำมาใช้แทน เครื่องพิมพ์ดีดในขอบเขตของงานเอกสาร ตลอดจนกระทั่งถึงงานการให้บริการข้อมูลจากฐานข้อมูลสำเร็จรูป หรือ งานฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นเอง บทความโดย นาง ฐิตารีย์ องอาจอิทธิชัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ที่มาจาก http://learners.in.th/blog/add/72404 ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต